วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การวัดและประเมินผลของวิชาเลือก

โดยอ.ประภา แสงทองสุข ที่เจแปน ฟาวน์เดชั่น 24 เมษายน 2556

ในการเรียนการสอนในปัจจุบันควรมีแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ คือ ห้องเรียนที่มีการเรียนเป็นหัวใจ โดยมีเป้าหมายหลักของการวัดประเมินผล คือ การปรับปรุงคุณภาพการสอนและการเรียนรู้**

การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนที่มีการเรียนรู้เป็นหัวใจ ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดสำคัญดังนี้
1. มีความเชื่อมั่นว่าผู้เรียนทุกคน*สามารถเรียนรู้และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดได้
2. ผู้เรียนเป็นผู้ขับเคลื่อนการเรียนรู้และได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ของตนและเพื่อนร่วมห้อง

ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักการ แนวคิด วิธีดำเนินงายในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการจักการเรียนรู้ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่มีความถูกต้องยุติธรรม เชื่อถือได้ มีความสมบรูณ์ ครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายของหลักสูต

สรุป เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางไว้ ครูต้องเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร* ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้* ครูต้องออกแบบการวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ*

การประเมินมีรูปแบบใดบ้าง ควรเลือกวิธีการประเมินให้สามารถประเมินผลได้ตรงเป้าหมายที่ตั้งไว้
1. Paper Test
2. สังเกตพฤติกรรม ควรสังเกตหลายครั้ง หลายสถานการณ์ หลายช่วงเวลาเพื่อขจัดความลำเอียง
3. การสอบปากเปล่า ให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยคำพูด อย่าเพิ่งขัดความคิดขณะที่ผู้เรียนกำลังพูด*
4. การพูดคุย ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน สามารถดำเนินการเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
5. การใช้คำถาม
6. การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ (Journals) ยังเป็นเครื่องมือประเมินพัฒนาการด้านทักษะการเขียนได้อีกด้วย
7. การประเมินปฏิบัติ (Performance Assessment) **ผู้สอนต้องเตรียมสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ ภาระงาน(Tasks) หรือกิจกรรมมี่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติ และเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubrics)
8. การประเมินด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio Assessment) :เพื่อดูกระบวนการเรียนรู้ว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้าง ที่ควรมีคือ 1)ชิ้นงาน เช่น ใบงาน การบ้าน เรียงความ วีดีโอหรือไฟล์เสียง 2)การเขียนการสะท้อนการเรียนรู้
9. การวัดและประเมินด้วยแบบทดสอบ ผู้สอนควรเลือกใช้แบบทดสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวัดและการประเมินนั้นๆ
10. การประเมินด้านความรู้สึกนึกคิด ด้านคณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ และเจตคติที่ควรปลูกฝังในการจัดการเรียนรู้
11. การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นการใช้การประเมินหลายแบบร่วมกัน
12. การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student Self-assessment)
13. การประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment)
( กรุณาดูเพิ่มเติม : เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้)

หลักฐานการเรียนรู้ประเภทต่างๆ โดยทั่วไปจำแนกหลักฐานการเรียนเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผลผลิต : รายงานที่เป็นรูปเล่ม สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง แผนภูมิ แฟ้มสะสมงาน ผังมโนทัศน์ การเขียนอนุทิน การเขียนความเรียง คำตอบที่ผู้เรียนสร้างขึ้น โครงงาน ฯลฯ
2. ผลการปฏิบัติ : การรายงานด้วยวาจา การสาธิต การทดลอง การปฏิบัติภาคสนาม การอภิปราย การจัดนิทรรศการ การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนของครู รายงานประเมินตนเองของผู้เรียน ฯลฯ

การประเมินแบบใหม่
1. เน้นส่งเสริมและพัฒนาให้การเรียนของผู้เรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะวัดประเมินระหว่างเรียน นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการวัดประเมิน
2. ประเมินเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้การเรียนของผู้เรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3*. ให้ความสำคัญกับการประเมินในระหว่างเรียน*
4*. เป็นการประเมินที่ยึดตามตัวชี้วัดที่ได้วางไว้
5*. ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ทางด้านภาษา แต่วัดความสามารถในการใช้ภาษาในระหว่างที่ทำกิจกรรม
6*. ส่วนใหญ่เป็นการประเมินทีีใช้กิจกรรมหลากหลาย และมีขั้นมีตอน*
7. ใช้วิธีการประเมินหลายรูปแบบโดยปรับให้เข้ากับสไตล์ผู้เรียนและสไตล์การเรียน
8. วัดความสามารถในการนำไปใช้และความสามารถแบบองค์รวม
9. วัดประเมินความรู้ความสามารถทางด้านวัฒนธรรมและทักษะการคิดด้วย
10. ให้ความสำคัญกับ "ความเที่ยงตรงของข้อสอบ(Validity)" มากกว่า หมายถึงวัดได้ตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด
11. มีทั้ง "ผู้เรียนประเมินตนเอง" "ผู้เรียนประเมินเพื่อน" "ประเมินเป็นกลุ่ม" "บุคคลภายนอกประเมิน"
12. รูปแบบการประเมิน มีทั้ง "Portfolio" "การรายงานหรือนำเสนอ" "การเขียนสะท้อนการเรียนรู้(Journal)

สรุป ควรประเมินอย่างไร
การประเมินรูปแบบเดิมโดยใช้ Paper Test (ที่วัดความรู้ด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่ายังมีจุดอ่อนตรงไหนในด้านความรู้ตัวภาษา โดยใช้ร่วมกับการประเมินในรูปแบบใหม่ ใช้ Performance Assessment และ Portfolio Assessment โดยในรูปแบบ "ผู้เรียนประเมินตนเอง" "ผู้เรียนประเมินเพื่อน" "ประเมินเป็นกลุ่ม" "บุคคลภายนอกประเมิน"

การประเมินภาระงานที่มีความซับซ้อน ควรใช้ Rubric(ルーブリック)
(ตัวอย่างดูในรูปเอกสารประกอบ)



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น