วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อบรบการสอน CBL

ที่ ห้องเรียนแห่งอนาคต เซ็นทรัลลาดพร้าว 
โดยอ.วิริยะ





วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อบรมภาษาญี่ปุ่น "การดีไซน์ให้เป็นสถานที่ที่เรียนรู้แบบ Peer Learning"

ที่ Japan Foundation Center (16 พ.ย.56)

ปรับเปลี่ยนการสอนของครู ใช้กิจกรรมเป็นสื่อให้นักเรียนปฏิบัติเชื่อมกับความคิดวิเคราะห์ของตน และหลังจากนั้นพูดคุยเรื่องของตนเองที่คิดนั้นกับเพื่อนในกลุ่ม ฟังความคิดเห็นและคำตอบของเพื่อนในกลุ่มที่ตอบว่าเหมือนหรือต่างกันกับเราหรือไม่ อาจจะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจใหม่และมีความคิดที่กว้างขึ้น อีกทั้งครูยังได้ฟังความคิดเห็นของตนว่ามีความคิดอย่างไร หากไม่ชัดเจนก็ชี้แนะอธิบายเพิ่มเติม 

ในการสอนโดยวิธี Peer Learning สนุกสนานแต่เหมือนเป็นการเล่น ฉะนั้นครูที่ใช้เทคนิคนี้ต้องชัดเจนว่ากิจกรรมที่เรานำมานั้นมุ่งหวังอะไร. มีการพูดคุยที่มีทั้งการใช้ความคิดสร้างสรรและการคิดวิเคราะห์

วิธี Peer Learning มี 3 ขั้นตอน
1. ทำกิจกรรมนั้นคนเดียว(ソロ考える)  โดยครูป้อนคำถามหรือใบ้ให้คิด
2. มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน (インターアクション) ทำให้มองเห็นชัด พิจารณาสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง อาจจะมีการเขียนใส่กระดาษ เขียนเป็นแผนผังบนกระดานด้วย
3. การปรับเปลี่ยนและการขยายใหญ่ วัฒนธรรมที่ยอมรับซึ่งกันและกัน



วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อบรมการสอนโดยใช้tablet เป็นสื่อ

อบรมโดยบริษัทบางกอกซอร์ฟแวร์ ที่ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง วันที่ 16 พฤษภาคม 2556

มีการใช้แอปพิเคชันที่เหมาะกับการเรียนการสอน อละแบ่งเบาภาระครูผู้สอน
1) แอปพิเคชัน "Explain Everything" ใช้ในการบรรยายในห้องเรียนคล้ายกระดานดำ และสามารถบันทึกเสียงในขณะที่ทำการสอนได้อีกด้วย
2) แอปพิเคชัน "box" ใช้เป็นที่พื้นที่เก็บข้อมูลในเว็ป คล้ายๆ iCloud
3) แอปพิเคชัน "Pages, Number, Keynote" ใช้เกี่ยวกับไฟล์เอกสาร การนำเสนอข้อมูล ตารางคำนวณ เช่นเดียวกับ Microsoft word, Microsoft excel, Microsoft powerpoint
4) แอปพิเคชัน "Keynote" ใช้นำเสนอข้อมูลในขณะที่สอน
ทางบริษัทได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียดในการใช้งานแอปพิเคชัน "Explain everything, Keynote" 
หลังจากการอบรมทำให้เห็นความสำคัญในการเตรียมสอนและการใช้สื่อมากขึ้น และสามารถทำให้งานครูเบาลงได้มาก มีการฝึกฝนการใช้งานเพื่อให้เดิกทักษะใหม่ต่อไป







วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คำช่วย ช่วยด้วย

โดย อ.วีรยุทธ วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ที่เจแปนฟาวน์เดชั่น





















ล่ามเบื้องต้น

โดย อ.นริศรา ทองมี ที่เจแปนฟาวน์เดชั่น วันที่ 2 พฤษภาคม 2556

เมื่ออาจารย์ญี่ปุ่นต้องเป็น...ล่าม
การทำงานล่ามและการทำงานแปลมีลักษณะการทำงานต่างกัน แต่ก็ต้องใช้ความรู้ด้านคำศัพท์และทักษะการแปลร่วมด้วย ฉะนั้นการเป็นล่ามจึงต้องมีความรู้ทางด้านการแปลด้วย
ประเภทของการทำงานล่ามแบ่งตามเทคนิคที่ใช้ในการแปลมี 2 ประเภทคือ
1. 同時通訳(どうじつやく) ล่ามพูดพร้อม จะต้องใช้สมาธิมาก
2. 逐次通訳(ちくじつうやく) ล่ามพูดสลับ เน้นถ้อยคำที่ใช้สื่ิอ

ทักษะทางภาษาจากการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการฝึกล่าม กระบวนการทำงานล่ามประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1) 理解(りかい) ฟัง/อ่านเพื่อจับใจความ=ความเข้าใจ
2) リテンション(Retention) จดโน้ต/จดจำ= เก็บข้อมูลไว้ให้คงอยู่ค
3) 再表見(さいひょうげん) ถ่ายทอดด้วยคำพูดของตนเอง= ฟังแล้วเข้าใขง่าย



วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

日本語コース:การฟัง การสนทนา

โดยอ.อะกิโมโต้(Akimoto) ที่เจแปนฟาวน์เดชั่น

การฟังมีกิจกรรมที่สามารถวัดทักษะการฟังได้
1. ดูรูปแล้วอธิบาย เช่น เรื่องครอบครัว
วัตถุประสงค์: สอบถามเรื่องครอบครัวของคู่สนทนา และพูดคุยเกี่ยวกับครอบครัวของตนเอง
ลักษณะพิเศษของกิจกรรม: ใช้ภาพในการพูดคุย
ลำดับ:1) ตรวจสอบคำเรียกคนในครอบครัว(ตนเองและผู้อื่น) คิดเนื้อหา และหัวข้อในการสนทนา
2) ตัวอย่างบทสนทนา T-S ( ตรวจสอบข้อที่ควรระวัง สำนวนเกี่ยวกับคนในและคนนอกครอบครัว)
3) เขียนหน้าของคนในครอบครัวลงในภาพ (*ไม่เขียนตัวอักษร)
4) จับคู่สนทนาโดยให้ดูภาพประกอบด้วย
2. แต่งบทสนทนาพูดคุยเรื่องทั่วไป เรื่องที่สนใจ แล้วอัดเทป มาฝึกฟังและแก้ไขไวยากรณ์
3. ทำแผนผังเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ แบ่งเป็นหมวดๆ
4. (แนะนำวัฒนธรรมญี่ปุ่น) แต่งกลอนญี่ปุ่น (川柳:せんりゅう)