วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนสุนทรพจน์และการวัดประเมิน(1)

โดยอ.ซาโต้ ที่เจแปน ฟาวน์เดชั่น วันที่ 24 เมษายน 2556

เป้าหมาย
1. ทำการสอนวิชาการเขียนและการสอนการพูดสุนทรพจน์ให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากจะลองเขียนลองพูดดู
2. มีความเข้าใจการสอนเรื่องการเขียนบทความและการพูดสุนทรพจน์
3. สอนเกี่ยวกับวิธีการระเมินการพูดสุนทรพจน์

อ. ซาโต้ กล่าวว่า การเขียนที่ดีนั่นไม่จำเป็นต้องยาวเสมอไป ควรจะเริ่มเป็นขั้นๆ โดยเริ่มจากสามารถเขียน 1 ประโยคให้ถูกต้องเสียก่อน ขั้นที่ 2 คือสามารถเขียน 2-4 ประโยคให้มีความสอดคล้องกัน ขั้นตอนที่ 3 สามารถเขียนบทพูดหรือเรียงความยาวขึ้นได้ ฉะนั้นเวลาตอนสอนควรค่อยๆ สอนทีละประโยค จนกลายเป็นย่อหน้า เรื่อยๆจนกลายเป็นบทความหรือบทพูดที่สมบรูณ์ได้

การสอนการเขียนเรียงความ
ในชั่วโมงเรียน/การบ้าน อจารย์ควรจะมีกิจกรรมที่นักเรียนชื่นชอบ เช่น แบ่งเป็นกลุ่มลองเขียนประโยคสั้นๆ เขียนบทความสั้นๆแล้วอ่านให้ฟัง ให้อ่านเรื่องแล้วแสดงความคิดเห็น
1. ฝึกเขียนประโยคเดียวให้ถูกต้อง
เริ่มจากจุดเล็กๆ ใช้แบบฝึกหัดช่าวยในเรื่องแติมคำช่วย หรือคำให้เหมาะสมในบทความที่ให้มา (ใช้หนังสือ อะกิโกะ ช่วยเรื่องการเขียน เช่น เติมตัวอักษร/คำศัพท์ได้ถูกต้อง เลือกใช้คำกิริยาได้ถูกต้อง เขียนรูปประโยคถูกไวยากรณ์ เป็นต้น

2. ฝึกเขียนประโยค 2-4 ประโยคให้มีเนื้อเรื่องสอดคล้องกัน
จุดสังเกต(ポイント)
1) ให้นักเรียนตระหนักถึงความสอดคล้องของเนื้อและคำสันธาน (คำเชื่อม/คำสันธานจะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เพื่อประโยคที่สอดคล้องเป็นอีนหนึ่งอันเดียวกัน
2) มีทั้งการทำงานเดียวและงานกลุ่ม และเพื่อลดความเครียดอาจจะใช้เกมส์ช่วยเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน การให้ความร่วมมืิอ การแข่งขัน ความคิดสร้างสรรค์ อละจินตนาการอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติ
อาจจะลองให้แต่งประโยคจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ดารา แล้วสอดแทรกการเขียนโดยใช้คำช่วยเข้าไปด้วย เขียนเสร็จให้ลองอ่านโชว์ ก็ได้
อาจจะใช้การเขียนบรรยายภาพสี่ภาพ โดยเนิ่มจากบรรยายแต่ละช่อง จากนั้นเลือกใช้คำสันธานที่เหมาะสมแล้วทำให้เป็นเรื่องราว (**แยกแต่ละช่องแล้วให้นักเรียนคิดเรื่องเองอย่างอิสระ ครูอาจจะเป็นที่ปรึกษาเพื่อความรวดเร็วขึ้น บางกรณีอาจมีคนเสร็จเร็วเสร็จช้าไม่เท่ากันก็ควรแก้ตามสถานการณ์ ซึ่งบางทีหากให้เขียนคนเดียว 4 ช่องอาจจะต้องใช้เวลามาก แก้โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 4 คนให้แต่คนละช่องแล้วมารวมเป็นเนื้อเดียวกันก็ได้**)

3. ฝึกเขียนเรียงความที่ยาวขึ้น
จุดสังเกต(ポイント)
1)ให้พิจารณาโครงเรื่อง เช่น ไดอารี่วันหยุด ครอบครัวของฉัน แนะนำอาหารไทยที่อร่อยๆ เป็นต้น
2)พยายามเลือกใช้คำสันธานเพื่อให้เรื่องมีความต่อเนื่องกัน
3)เล่นเกมส์หรือทำกิจกรรมให้สนุกขึ้น
4)ดูตัวอย่างเรียงความ แล้วเขียนแก้เรียงความให้เป็นเรื่องของตนเอง
* ฝึกโดยใส่ช่องว่างลงในตัวอย่างเรียงความที่เตรียมมา แล้วให้นักเรียนเติมคำที่เกี่ยวกับเรื่องราวของตนเองลงไปในช่องว่างนั้น
* ให้นักเรียนคิดโครงสร้างเองในหัวข้อคล้ายคลึงกัน
* ประยุกต์โดยให้ทำงานกลุ่ม ซึ่งปัญหาคืออาจจะมีคนที่ทำอยู่คนเดียวในกลุ่ม นอกนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยกันมากนัก แก้โดยก่อนให้ทำงานกลุ่มให้นักเรียนแต่ละคนทำงานคนเดียวก่อน เมื่อทำดังนี้ จะไม่ค่อยมีนักเรียนที่ไม่ช่วยทำอะไร (แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นเขียนเรื่องตนเองแล้วลงความเห็นว่าจะเขียนเรื่องของใคร)

แบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนเรียงความที่ยาวได้
1. ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ เช่น เธอทำอะไรได้บ้าง(あなたは何ができますか。)ให้เขียนมา 3 อย่างที่ทำได้ โดยให้ใช้คำเชื่อม「 それから」
2. เขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประโยค เช่น เริ่มทำสิ่งนั้นเป็นเมื่อไร, เริ่ิมทำสิ่งนั้นเมื่อไร, ทำเรื่องนั้นได้ประมาณไหน/ระดับความสามารถ
3. นำประโยคของแต่ละส่วนมารวมกันเป็นเรื่องเดียวกัน ต่อจากนั้นให้อ่านหาือพูดให้ฟังตามที่เขียนก็จะกลายเป็นเรียงความเรื่องสั้นๆขึ้นมา

ข้อควรระวังในการให้นักเรียนเขียนเรียงความอิสระ คือ
1) ควรกำหนดจุดประสงค์ว่าเขียนเพื่ออะไร** ต้องการสื่อเรื่องอะไรที่สุด
2) ขณะที่เขียนควรคิดว่าจะเขียนให้ใครอ่าน

สรุปเรื่องการเขียนเรียงความ คือ
1. เริ่มจากเขียนทีละประโยค แล้วมารวมๆกันโดยใช้คำสันธานเพื่อให้เป็นเรื่องที่สอดคล้องยาวขึ้น
2. ทำให้สนุกโดยอาจจะเล่นเป็นเกมส์หรือเขียนโดยใช้กิจกรรมเข้าช่วย
3. บอกวัตถุประสงค์/ใจความสำคัญของเรียงความ เคำนึงถึงผู้อ่านที่จะรับสาร



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น