วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังและกิจกรรมการฟัง

โดย อ.ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2) วันที่ 23 เมษายน 2556

หน้าที่ของผู้สอน คือทำอย่างไรจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการฟังได้ แนะนำวิธีการคาดเดาความหมาย การช่วยให้เขาเข้าใจ แต่ไม่ใช่อธิบายความหมายและไม่ใช่การเฉลยคำตอบ แต่คือ การชี้ให้เห็นว่า เราควรใส่ใจฟังข้อมูลที่เราต้องการทราบ ถ้ายังฟังไม่ออก

กลยุทธ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังและกิจกรรมการฟัง (การให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง ควรออกข้อสอบ/แบบฝึกให้ตอบได้ง่าย เขียนให้น้อยที่สุด) มี 5 แบบ ดังนี้
1. เลือกฟังแต่ข้อความที่ต้องการหรือจำเป็น
2. จับประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่อง
3. จับประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่อง ตั้งคำถามก่อนฟัง
4. เดาความหมายจากบริบท สถานการณ์ แม้จะมีคำที่ไม่รู้จัก
5. ลองฟังเรื่องที่เข้าใจยากบ้าง พยายามฟังเรื่องราวที่เป็นความจริง เพื่อให้ได้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

การสอนการฟังสำหรับผู้เรียนชั้นต้น ควรจะให้นักเรียนฝึกฟังโดยไม่มองตัวอักษร ให้มีการคาดเดาเนื้อเรื่องแม้จะมีข้อความที่ไม่เข้าใจบ้าง อดทนฟังแม้จะเข้าใจไม่ชัดเจน ฟังอย่างตั้งใจจนจบ ไม่"ด่วนสรุป"

อ.ทัศนีย์เสนอ ให้นักเรียนฟังโดยใช้วิธีการแชโดอิ้ง คือการให้พูดประโยคนั้นซ้ำทันที เพื่อฝึกฟังตัวอักษรและพูได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งในการเลือกบทความ หรือบทสนทนาควรเลือกแบบ i+1 คือมีเนื้อหาที่เกินความสามารถเล็กน้อย หรือยากขึ้นหนึ่งระดับ เพื่อเป็นการท้าทายความสามารถนักเรียนอีกทางหนึ่ง หรือหากว่าเป็นักเรียนอ่อนอาจจะเลือกแบบ i-1 คือมีเนื้อหาต่ำกว่าความสามารถจริงเล็กน้อย หรือง่ายลงหนึ่งระดับ เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจให้นักเรียนอีกทางหนึ่ง

ควรเริ่มฝึกฝนตั้งแต่แรกๆ เพื่อปลูกฝังและพัฒนาทักษะการเป็นนักฟังที่ดี ซึ่งในการสอนทักษะการฟังควรสอนเรื่องมารยาทการฟังด้วย















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น