วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนวิชาการฟังและการวัดประเมิน

โดย อ.ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ เจแปนฟาวน์เดชั่น วันที่ 23 เมษายน 2556

การฟังคือ การรับสาร และในขณะเดียวกันต้องทำอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การแยกเสียง การเข้าใจคำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ การเน้นเสียงของคำ และยังต้องมีการตีความโดยต้องอาศัยเนื้อหาทางสังคม ร่วมด้วย
จึงถือได้ว่า คนที่จะมีทักษะการฟังที่ดีนั้นจะต้องเดาเรื่องราวที่ฟังได้อย่างถูกต้องมากที่สุด จึงจะปนะสบความสำเร็จ

การฝึกฟังจะช่วยให้เกิดสมาธิเพิ่มขึ้นได้ โดยการให้ฝึกฟังประโยคยาวๆ แล้วถามว่าเกี่ยวกับอะไร ซึ่งในขณะที่เราฟังแต่ละครั้งนั้น เราจะต้องตั้งสมาธิ เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายด้วย ฉะนั้นทักษะการฟังถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด

ในการเรียนภาษาต่างประเทศชั้นต้น จุดมุ่งหมายของการฟังคือ เพื่อทำความเข้าใจสาร เพื่อ input ข้อมูลให้มากที่สุด (โดยนักเรียนจะได้รับ input มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาจารย์จะสามารถจะฝึกนักเรียนมากเท่าไหร่)

กลไกในการเข้าใจผ่านการฟัง มี 3 รูปแบบ
1. Bottom up Model รูปแบบจากล่างขึ้นบน เก็บรายละเอียดเพื่อสร้างความหมาย เหมาะกับ ผู้ฟังมือใหม่ ผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาชั้นต้น ต้องอาศัยสมาธิค่อนข้างมาก เป็นทักษะพื้นฐานของการรับสารในระดับต่อไป
2. Top Down model รูปแบบจากบนลงล่าง มองภาพรวมเพื่อจับใจความสำคัญ เหมาะกับ ผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้ทักษะรวม สำหรับประมวลข้อมูลระดับสูง สามารถวิเคราะห์แยกแยะความสำคัญของสารที่ฟัง ต้องอาศัยการคาดเดา ภูมิความรู้ บริบท และประสบการณ์ที่ใช้ร่วมด้วย
3. Interactive model รูปแบบปฏิสัมพันธ์สองทาง เหมาะกับผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ใส่ใจรายละเอียด ระดับคำ และเสียงเล็กน้อย มีความสามารถในการทำความเข้าใจข้อมูลขนาดใหญ่ และประมวลข้อมูลในภาพรวมได้ มีกระบวนการรับสารแบบทันทีและมีปฏิาัมพันธ์กับสาร (ใช้ทักษะการคาดเดา เพื่อเติมเต็มข้อมูลส่วนที่หายไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น