วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การออกแบบบทเรียนและการเลือกแบบฝึกฟัง

โดยอ.ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (3) วันที่ 23 เมษายน 2556

การออกแบบบทเรียนและการเลือกแบบฝึกนั่น มีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
1. เราฟังมากกว่าพูด อ่าน หรือเขียน
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมการฟังทั้งในชั้นเรียน และด้วยตนเอง
3. พยายามใช้ทักษะฟังควบคู่ไปกับทักษะอื่นๆ
4. เรื่องที่เลือกมาควรกระตุ้นให้ผู้เรียนนำภูมิความรู้ที่มีอยู่หรือประสบการณ์ที่ผ่านมานำมาเชื่อมโยงกับหัวข้อที่จะฟัง
5*.ใส่ใจในระดับความสามารถในการฟังของผู้เรียน
6. มีการนำเสนอการฟังหลกหลายรูปแบบ
7*.สร้างเว็บไซด์เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือพัฒนาตำราให้ได้ใช้ประโยชน์มากที่สุด

วิเคราะห์ประเภทของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการฝึกฟัง เพื่อสร้างความหลากหลายของบทเรียน
1. จำนวนคนพูด (คนเดียว สองคน สามคน)
2. มีคู่สนทนาอยู่ต่อหน้าหรือไม่ (มี/ไม่มี)
3. ประเภทของสื่อ (แถบเสียง ภาพเคลื่อนไหว เสียงผู้สอน เสียงผู้เรียน)
4. เนื้อหาที่ใช้ฟัง (บทสนทนา เรื่องเล่า อภิปราย ฯลฯ)
5. สถานการณ์ในเรื่องที่ฟัง (ครอบครัว เรื่องเรียน งาน งานอดิเรก สังคม สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ฯลฯ)
6. กลยุทธ์หลักที่ใช้ฝึกการฟัง (คัดเลือกข้อมูล คาดคะเน คาดเดา ถาม กำกับติดตาม ตอบโต้)
7. เนื้อหาสำหรับผู้เรียนภาษาหรือ เป็นเนื้อหาในชีวิตจริง
8. ระดับความยากง่ายของเนื้อหา

แผนการสอนการฟัง ควรแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
1. การเตรียมก่อนฟัง เชื่อมโยงกับความรู้เดิม ประสบการณ์ ใช้ภาพ คำถามเพื่อดึงเข้าสู่เรื่อง /แต่ถ้าเป็นเรื่องใหม่เลยควรให้ความรู้เพิ่มเติมก่อน หรือบอกคำศัพท์ใหม่ก่อน
2. ขั้นตอนการฟัง แบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกฟัวเพื่อจับใจความ ครั้งที่ 2 เพื่อเก็บรายละเอียด เดาความหมายของคำที่ไม่รู้จัก (อาจจะไม่ต้องดูตัวหนังสือก็ได้)
3. หลังจากที่ฟัง แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ฟังโดยการพูดหรือเขียน ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช็คคำที่เรียนรู้ใหม่

การประเมินผลด้านทักษะการฟัง**
1. ประเมินโดยใช้แบบทดสอบ (ความยาก/ง่ายควรพอดี หรือเหมาะสมใกล้เคียงระดับผู้เรียน) เช่น เติมคำ ปรนัยกลมข้อที่ถูก
2. ประเมินด้วยตนเอง เช่นให้นักเรียนเขียนสรุปคร่าวๆ ให้ชูคำตอบ A/B O/X
3*. ประเมินโดยผู้สอนจากกิจกรรมต่างๆ ของผู้เรียน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพระยะยาว เช่น portfolio

**การประเมินมีความหมาย เมื่อการประเมินนั้นทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจถึงจุดอ่อนของตน และนำไปสู่การปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น