วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

日本語コース:การฟัง การสนทนา

โดยอ.อะกิโมโต้(Akimoto) ที่เจแปนฟาวน์เดชั่น

การฟังมีกิจกรรมที่สามารถวัดทักษะการฟังได้
1. ดูรูปแล้วอธิบาย เช่น เรื่องครอบครัว
วัตถุประสงค์: สอบถามเรื่องครอบครัวของคู่สนทนา และพูดคุยเกี่ยวกับครอบครัวของตนเอง
ลักษณะพิเศษของกิจกรรม: ใช้ภาพในการพูดคุย
ลำดับ:1) ตรวจสอบคำเรียกคนในครอบครัว(ตนเองและผู้อื่น) คิดเนื้อหา และหัวข้อในการสนทนา
2) ตัวอย่างบทสนทนา T-S ( ตรวจสอบข้อที่ควรระวัง สำนวนเกี่ยวกับคนในและคนนอกครอบครัว)
3) เขียนหน้าของคนในครอบครัวลงในภาพ (*ไม่เขียนตัวอักษร)
4) จับคู่สนทนาโดยให้ดูภาพประกอบด้วย
2. แต่งบทสนทนาพูดคุยเรื่องทั่วไป เรื่องที่สนใจ แล้วอัดเทป มาฝึกฟังและแก้ไขไวยากรณ์
3. ทำแผนผังเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ แบ่งเป็นหมวดๆ
4. (แนะนำวัฒนธรรมญี่ปุ่น) แต่งกลอนญี่ปุ่น (川柳:せんりゅう)
































วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนสุนทรพจน์และการวัดประเมิน(2)

โดย อ.ซาโต้ ที่เจแปนฟาว์นเดชั่น วันที่ 25 เมษายน 2556

สุนทรพจน์ที่ดีเป็นอย่างไร
เงื่อนไขของสุนทรพจน์ที่ดี เน้นที่เนื้อหาของบทความและวิธีการเขียน* ส่วนวิธีการพูดไม่จำเป็น
2. เนื้อหาสัมพันธ์กับหัวเรื่อง
3. คำศัพท์และไวยากรณ์อยู่ในระดับของผู้เรียน
4. มีความรู้สึกร่วม
5. หัวเรื่องน่าสนใจ
6. เนื้อหาสนุก
7. เข้าใจง่าย
8. ให้ผู้ฟังได้คิดตาม
9. ลำดับโครงเรื่องครบ (บทนำ เนื้อหา สรุป)
10. ควรเป็นวิธีเขียนที่มีคำถามกับผู้ฟัง
11. ใช้คำเปรียบเทียบ บรรยายให้ผู้ฟังเห็นภาพ
12. ตัวหนังสืออ่านง่าย ลายมือสวย
13. มีความคิดสร้างสรรค์

บทความทีี่เขียนเพื่อมาพูดสุนทรพจน์ มี 3 ประเภท
1. ประเภทให้ความรู้แก่ผู้ฟัง เช่น เมืองของฉัน วิธีการทำผัดไทย ซึ่งจะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับคนหรือสิ่งของ อธิบายวิธีทำ/วิธีใช้
2. ประเภทส่งอิทธิพลต่อความคิดเห็น ท่าทาง ความรู้สึกของผู้ฟัง เช่น หัวข้อการกลั่นแกล้ง และการฆ่าตัวตายข้อเด็ก
3. ประเภทสุนทรพจน์เพื่อการเข้าสังคม เช่น คำกล่าวในงานแต่งงาน
โดยสุนทรพจน์ทั้ง 3 ประเภทไม่ได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน มีบางส่วนที่ซ้อนกันอยู่

โครงสร้างพื้นฐานของสุนทรพจน์เพื่อแสดงความคิดเห็น
1) บทเกริ่นนำ ประกอบอยู่ในบทความ 5-10%
2) เนื้อหา ประกอบอยู่ในบทความ 80%
3) บทสรุป ประกอบอยู่ในยทความ 5-10%

บทเกริ่นนำ(はじめ/序論) เพื่อให้มีความน่าสนใจควรมีการตั้งคำถาม สร้างความตื่นเต้น น่าตกใจ เริ่มจากเรื่องที่ไม่คาดคิด
เนื้อหา(なか/本論) ควรเป็นเรื่องประสบการณ์ที่ชัดเจน มีจุดยืน
บทสรุป(おわり/結論) กล่าวถึงจุดยืนด้วยถ้อยคำที่ต่างไปจากเดิม และทิ้งคำถามไว้ให้ผู้ฟังคิดต่อ

ตัวอย่างการสอนเขียนสุนทรพจน์ มี 5 ขั้นตอน/7.5 ชั่วโมง(1.5ชั่วโมง/ขั้นตอน)
0) ให้การบ้านนักเรียนคิดถึงเรื่องที่อยากจะนำมาเขียน เช่น เรื่องที่น่าโมโห เรื่องที่ประหลาดใจ เรื่องที่ดีใจ เรื่องที่ประทับใจ
1) สอนโดยบอกความแตกต่างระหว่างการเขียนเรียงความทั่วไปกับบทสุนทรพจน์ สอนว่าสุนทรพจน์คืออะไร วิธีการจดบันทึก การเลือกหัวข้อ
2) ครูเช็ค เขียนร่างครั้งที่ 1
3) ให้นักเรียนอ่านร่างครั้งที่ 1 และให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงเขียนร่างครั้งที่ 2 (ให้เสนอแนะกันเองระหว่างนักเรียนด้วยกัน เพราะเป็นทั้งคนฟัง อีกทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระงานของอาจารย์ผู้สอนด้วย)
4) ให้นักเรียนอ่านร่างครั้งที่ 2 และให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงเขียนร่างครั้งสุดท้าย
5) ส่ง โดยครูจะตรวจไวยากรณ์ คำศัพท์ ส่วนเนื้อหานักเรียนช่วยกันตรวจแล้ว

ในการเลือกหัวข้อ/คิดหัวข้อที่จะเขียน(15 นาที)
แต่ละคนตัดสินใจเลือกเรื่องที่อยากจะเขียน โดยให้แต่ละคนนำเสนอเรื่องของตนเอง คนละ 1 นาที ขณะที่คนในกลุ่มนำเสนอเรื่องตนเอง ไม่มีการแสดงความเห็นหรือคุยกัน(ใช้ภาษาไทย) หลังจากพูดจบให้มีการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม เช่น ทำไมถึงเลือกพูดเรื่องนี้ อธิบายของตนเองจนครบ เลือกหัวข้อที่ดีที่สุดในกลุ่ม (それぞれテーマを決める)

ในการจดโน้ตไอเดียที่อยากจะเสนอ ใช้รูป มายแมป(mind map)

เขียนโครงร่าง (15 นาที)
1) คิดโครงเรื่องที่จะเขียน และลองเรียงลำดับเรื่องราวดู และลองเชื่อมประโยคด้วยคำสันธานดู
2) เขียนโครงเรื่องที่คิดไว้ลงในกระดาษอีกแผ่น
3) ผู้สอนตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น

การประเมินสุนทรพจน์/ ทำใบประเมินสุนทรพจน์
1. จดรวบรวมหัวข้อที่ควรประเมิน
- เนื้อหา/วิธีการเขียน ใช้กระดาษโพสต์อิท(post it)สีเขียว
- วิธีการพูด ใช้กระดาษโพสต์อิท(post it)สีชมพู
2. แบ่งหัวข้อความยากง่ายและเหมาะสมในการประเมิน
- ความรู้ด้านภาษา เช่น ไวยากรณ์ คำศัพท์ คันจิ สามารถแบ่งระดับประเมินทำได้ง่าย
- การนำความรู้ออกมาใช้/performance เช่น บทความ เรียงความ บทสนทนา สุนทรพจน์ การแบ่งระดับประเมินทำได้ยาก
3. ลองประเมินระดับความสามารถที่ทำได้ โดยเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก่อนเขียน มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

ฉะนั้นกระบวนการในการบรรลุเป้าหมาย คือ
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การลงความเห็น* ด้วยการใช้แบบประเมิน
3. การแก้ไข

อ.ซาโต้เสนอ ให้เก็บก๊อปปี้ผลงานเด็กที่สอนไว้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบงาน ว่าเราสอนในแต่ละปีมีงานที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งบางทีอาจจะลอกกันมาส่ง เราต้องมาแก้ไขให้งานที่ลอกมาส่งนั้นน้อยที่สุด
































Showcase "Japanese Teaching:幸せグループ"

ที่ เจแปนฟาว์นเดชั่นวันที่ 26 เมษายน 2556



























วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนสุนทรพจน์และการวัดประเมิน(1)

โดยอ.ซาโต้ ที่เจแปน ฟาวน์เดชั่น วันที่ 24 เมษายน 2556

เป้าหมาย
1. ทำการสอนวิชาการเขียนและการสอนการพูดสุนทรพจน์ให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจอยากจะลองเขียนลองพูดดู
2. มีความเข้าใจการสอนเรื่องการเขียนบทความและการพูดสุนทรพจน์
3. สอนเกี่ยวกับวิธีการระเมินการพูดสุนทรพจน์

อ. ซาโต้ กล่าวว่า การเขียนที่ดีนั่นไม่จำเป็นต้องยาวเสมอไป ควรจะเริ่มเป็นขั้นๆ โดยเริ่มจากสามารถเขียน 1 ประโยคให้ถูกต้องเสียก่อน ขั้นที่ 2 คือสามารถเขียน 2-4 ประโยคให้มีความสอดคล้องกัน ขั้นตอนที่ 3 สามารถเขียนบทพูดหรือเรียงความยาวขึ้นได้ ฉะนั้นเวลาตอนสอนควรค่อยๆ สอนทีละประโยค จนกลายเป็นย่อหน้า เรื่อยๆจนกลายเป็นบทความหรือบทพูดที่สมบรูณ์ได้

การสอนการเขียนเรียงความ
ในชั่วโมงเรียน/การบ้าน อจารย์ควรจะมีกิจกรรมที่นักเรียนชื่นชอบ เช่น แบ่งเป็นกลุ่มลองเขียนประโยคสั้นๆ เขียนบทความสั้นๆแล้วอ่านให้ฟัง ให้อ่านเรื่องแล้วแสดงความคิดเห็น
1. ฝึกเขียนประโยคเดียวให้ถูกต้อง
เริ่มจากจุดเล็กๆ ใช้แบบฝึกหัดช่าวยในเรื่องแติมคำช่วย หรือคำให้เหมาะสมในบทความที่ให้มา (ใช้หนังสือ อะกิโกะ ช่วยเรื่องการเขียน เช่น เติมตัวอักษร/คำศัพท์ได้ถูกต้อง เลือกใช้คำกิริยาได้ถูกต้อง เขียนรูปประโยคถูกไวยากรณ์ เป็นต้น

2. ฝึกเขียนประโยค 2-4 ประโยคให้มีเนื้อเรื่องสอดคล้องกัน
จุดสังเกต(ポイント)
1) ให้นักเรียนตระหนักถึงความสอดคล้องของเนื้อและคำสันธาน (คำเชื่อม/คำสันธานจะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เพื่อประโยคที่สอดคล้องเป็นอีนหนึ่งอันเดียวกัน
2) มีทั้งการทำงานเดียวและงานกลุ่ม และเพื่อลดความเครียดอาจจะใช้เกมส์ช่วยเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน การให้ความร่วมมืิอ การแข่งขัน ความคิดสร้างสรรค์ อละจินตนาการอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติ
อาจจะลองให้แต่งประโยคจากเรื่องใกล้ตัว เช่น ดารา แล้วสอดแทรกการเขียนโดยใช้คำช่วยเข้าไปด้วย เขียนเสร็จให้ลองอ่านโชว์ ก็ได้
อาจจะใช้การเขียนบรรยายภาพสี่ภาพ โดยเนิ่มจากบรรยายแต่ละช่อง จากนั้นเลือกใช้คำสันธานที่เหมาะสมแล้วทำให้เป็นเรื่องราว (**แยกแต่ละช่องแล้วให้นักเรียนคิดเรื่องเองอย่างอิสระ ครูอาจจะเป็นที่ปรึกษาเพื่อความรวดเร็วขึ้น บางกรณีอาจมีคนเสร็จเร็วเสร็จช้าไม่เท่ากันก็ควรแก้ตามสถานการณ์ ซึ่งบางทีหากให้เขียนคนเดียว 4 ช่องอาจจะต้องใช้เวลามาก แก้โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆละ 4 คนให้แต่คนละช่องแล้วมารวมเป็นเนื้อเดียวกันก็ได้**)

3. ฝึกเขียนเรียงความที่ยาวขึ้น
จุดสังเกต(ポイント)
1)ให้พิจารณาโครงเรื่อง เช่น ไดอารี่วันหยุด ครอบครัวของฉัน แนะนำอาหารไทยที่อร่อยๆ เป็นต้น
2)พยายามเลือกใช้คำสันธานเพื่อให้เรื่องมีความต่อเนื่องกัน
3)เล่นเกมส์หรือทำกิจกรรมให้สนุกขึ้น
4)ดูตัวอย่างเรียงความ แล้วเขียนแก้เรียงความให้เป็นเรื่องของตนเอง
* ฝึกโดยใส่ช่องว่างลงในตัวอย่างเรียงความที่เตรียมมา แล้วให้นักเรียนเติมคำที่เกี่ยวกับเรื่องราวของตนเองลงไปในช่องว่างนั้น
* ให้นักเรียนคิดโครงสร้างเองในหัวข้อคล้ายคลึงกัน
* ประยุกต์โดยให้ทำงานกลุ่ม ซึ่งปัญหาคืออาจจะมีคนที่ทำอยู่คนเดียวในกลุ่ม นอกนั้นอาจจะไม่ได้ช่วยกันมากนัก แก้โดยก่อนให้ทำงานกลุ่มให้นักเรียนแต่ละคนทำงานคนเดียวก่อน เมื่อทำดังนี้ จะไม่ค่อยมีนักเรียนที่ไม่ช่วยทำอะไร (แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นเขียนเรื่องตนเองแล้วลงความเห็นว่าจะเขียนเรื่องของใคร)

แบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนเรียงความที่ยาวได้
1. ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนตอบ เช่น เธอทำอะไรได้บ้าง(あなたは何ができますか。)ให้เขียนมา 3 อย่างที่ทำได้ โดยให้ใช้คำเชื่อม「 それから」
2. เขียนอธิบายเพิ่มเติมในแต่ละประโยค เช่น เริ่มทำสิ่งนั้นเป็นเมื่อไร, เริ่ิมทำสิ่งนั้นเมื่อไร, ทำเรื่องนั้นได้ประมาณไหน/ระดับความสามารถ
3. นำประโยคของแต่ละส่วนมารวมกันเป็นเรื่องเดียวกัน ต่อจากนั้นให้อ่านหาือพูดให้ฟังตามที่เขียนก็จะกลายเป็นเรียงความเรื่องสั้นๆขึ้นมา

ข้อควรระวังในการให้นักเรียนเขียนเรียงความอิสระ คือ
1) ควรกำหนดจุดประสงค์ว่าเขียนเพื่ออะไร** ต้องการสื่อเรื่องอะไรที่สุด
2) ขณะที่เขียนควรคิดว่าจะเขียนให้ใครอ่าน

สรุปเรื่องการเขียนเรียงความ คือ
1. เริ่มจากเขียนทีละประโยค แล้วมารวมๆกันโดยใช้คำสันธานเพื่อให้เป็นเรื่องที่สอดคล้องยาวขึ้น
2. ทำให้สนุกโดยอาจจะเล่นเป็นเกมส์หรือเขียนโดยใช้กิจกรรมเข้าช่วย
3. บอกวัตถุประสงค์/ใจความสำคัญของเรียงความ เคำนึงถึงผู้อ่านที่จะรับสาร