วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนสุนทรพจน์และการวัดประเมิน(2)

โดย อ.ซาโต้ ที่เจแปนฟาว์นเดชั่น วันที่ 25 เมษายน 2556

สุนทรพจน์ที่ดีเป็นอย่างไร
เงื่อนไขของสุนทรพจน์ที่ดี เน้นที่เนื้อหาของบทความและวิธีการเขียน* ส่วนวิธีการพูดไม่จำเป็น
2. เนื้อหาสัมพันธ์กับหัวเรื่อง
3. คำศัพท์และไวยากรณ์อยู่ในระดับของผู้เรียน
4. มีความรู้สึกร่วม
5. หัวเรื่องน่าสนใจ
6. เนื้อหาสนุก
7. เข้าใจง่าย
8. ให้ผู้ฟังได้คิดตาม
9. ลำดับโครงเรื่องครบ (บทนำ เนื้อหา สรุป)
10. ควรเป็นวิธีเขียนที่มีคำถามกับผู้ฟัง
11. ใช้คำเปรียบเทียบ บรรยายให้ผู้ฟังเห็นภาพ
12. ตัวหนังสืออ่านง่าย ลายมือสวย
13. มีความคิดสร้างสรรค์

บทความทีี่เขียนเพื่อมาพูดสุนทรพจน์ มี 3 ประเภท
1. ประเภทให้ความรู้แก่ผู้ฟัง เช่น เมืองของฉัน วิธีการทำผัดไทย ซึ่งจะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับคนหรือสิ่งของ อธิบายวิธีทำ/วิธีใช้
2. ประเภทส่งอิทธิพลต่อความคิดเห็น ท่าทาง ความรู้สึกของผู้ฟัง เช่น หัวข้อการกลั่นแกล้ง และการฆ่าตัวตายข้อเด็ก
3. ประเภทสุนทรพจน์เพื่อการเข้าสังคม เช่น คำกล่าวในงานแต่งงาน
โดยสุนทรพจน์ทั้ง 3 ประเภทไม่ได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน มีบางส่วนที่ซ้อนกันอยู่

โครงสร้างพื้นฐานของสุนทรพจน์เพื่อแสดงความคิดเห็น
1) บทเกริ่นนำ ประกอบอยู่ในบทความ 5-10%
2) เนื้อหา ประกอบอยู่ในบทความ 80%
3) บทสรุป ประกอบอยู่ในยทความ 5-10%

บทเกริ่นนำ(はじめ/序論) เพื่อให้มีความน่าสนใจควรมีการตั้งคำถาม สร้างความตื่นเต้น น่าตกใจ เริ่มจากเรื่องที่ไม่คาดคิด
เนื้อหา(なか/本論) ควรเป็นเรื่องประสบการณ์ที่ชัดเจน มีจุดยืน
บทสรุป(おわり/結論) กล่าวถึงจุดยืนด้วยถ้อยคำที่ต่างไปจากเดิม และทิ้งคำถามไว้ให้ผู้ฟังคิดต่อ

ตัวอย่างการสอนเขียนสุนทรพจน์ มี 5 ขั้นตอน/7.5 ชั่วโมง(1.5ชั่วโมง/ขั้นตอน)
0) ให้การบ้านนักเรียนคิดถึงเรื่องที่อยากจะนำมาเขียน เช่น เรื่องที่น่าโมโห เรื่องที่ประหลาดใจ เรื่องที่ดีใจ เรื่องที่ประทับใจ
1) สอนโดยบอกความแตกต่างระหว่างการเขียนเรียงความทั่วไปกับบทสุนทรพจน์ สอนว่าสุนทรพจน์คืออะไร วิธีการจดบันทึก การเลือกหัวข้อ
2) ครูเช็ค เขียนร่างครั้งที่ 1
3) ให้นักเรียนอ่านร่างครั้งที่ 1 และให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงเขียนร่างครั้งที่ 2 (ให้เสนอแนะกันเองระหว่างนักเรียนด้วยกัน เพราะเป็นทั้งคนฟัง อีกทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระงานของอาจารย์ผู้สอนด้วย)
4) ให้นักเรียนอ่านร่างครั้งที่ 2 และให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงเขียนร่างครั้งสุดท้าย
5) ส่ง โดยครูจะตรวจไวยากรณ์ คำศัพท์ ส่วนเนื้อหานักเรียนช่วยกันตรวจแล้ว

ในการเลือกหัวข้อ/คิดหัวข้อที่จะเขียน(15 นาที)
แต่ละคนตัดสินใจเลือกเรื่องที่อยากจะเขียน โดยให้แต่ละคนนำเสนอเรื่องของตนเอง คนละ 1 นาที ขณะที่คนในกลุ่มนำเสนอเรื่องตนเอง ไม่มีการแสดงความเห็นหรือคุยกัน(ใช้ภาษาไทย) หลังจากพูดจบให้มีการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม เช่น ทำไมถึงเลือกพูดเรื่องนี้ อธิบายของตนเองจนครบ เลือกหัวข้อที่ดีที่สุดในกลุ่ม (それぞれテーマを決める)

ในการจดโน้ตไอเดียที่อยากจะเสนอ ใช้รูป มายแมป(mind map)

เขียนโครงร่าง (15 นาที)
1) คิดโครงเรื่องที่จะเขียน และลองเรียงลำดับเรื่องราวดู และลองเชื่อมประโยคด้วยคำสันธานดู
2) เขียนโครงเรื่องที่คิดไว้ลงในกระดาษอีกแผ่น
3) ผู้สอนตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น

การประเมินสุนทรพจน์/ ทำใบประเมินสุนทรพจน์
1. จดรวบรวมหัวข้อที่ควรประเมิน
- เนื้อหา/วิธีการเขียน ใช้กระดาษโพสต์อิท(post it)สีเขียว
- วิธีการพูด ใช้กระดาษโพสต์อิท(post it)สีชมพู
2. แบ่งหัวข้อความยากง่ายและเหมาะสมในการประเมิน
- ความรู้ด้านภาษา เช่น ไวยากรณ์ คำศัพท์ คันจิ สามารถแบ่งระดับประเมินทำได้ง่าย
- การนำความรู้ออกมาใช้/performance เช่น บทความ เรียงความ บทสนทนา สุนทรพจน์ การแบ่งระดับประเมินทำได้ยาก
3. ลองประเมินระดับความสามารถที่ทำได้ โดยเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก่อนเขียน มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

ฉะนั้นกระบวนการในการบรรลุเป้าหมาย คือ
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การลงความเห็น* ด้วยการใช้แบบประเมิน
3. การแก้ไข

อ.ซาโต้เสนอ ให้เก็บก๊อปปี้ผลงานเด็กที่สอนไว้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบงาน ว่าเราสอนในแต่ละปีมีงานที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งบางทีอาจจะลอกกันมาส่ง เราต้องมาแก้ไขให้งานที่ลอกมาส่งนั้นน้อยที่สุด
































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น