วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การสอนวัฒนธรรมญี่ปุ่น

โดย อ.ประภา แสงทองสุข วันที่ 24 เมษายน 2556

การเรียนการสอนวัฒนธรรม
จาก Yabe(2001) กล่าวว่า "การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาในต่างประเทศ เพื่อเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ โดยการเสริมสร้างศักยภาพในการตั้งรับและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างได้"

ทักษะที่ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง เช่น สังเกตเห็นและพร้อมที่จะละเลิกวิธีคิดแบบดั้งเดิมที่ยึดติดกับรูปแบบเดิม รู้และก้าวสู่ความเป็นสากลของพื้นฐานดหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งแตกต่างกันทางรูปลักษณ์ภายนอก เข้าใจผู้ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากตน สำนักเกี่ยวกับเรื่องของตนเองจากการที่เข้าใจผู้อื่น มีทักษะการพูดหรือแสดงออกในเรื่องตนเอง และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น (เป็นส่วนที่สำคัญมากที่ทำให้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมน้อยลง:รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น)

กลยุทธการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้าง "Cultural Literacy" โดยเรียกกลยุทธนี้ว่า "Teaching Strategy(TS)" :Yabe(2001)
1. กำหนดหัวเรื่องวัฒนธรรมที่จะสอนให้เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าเป็นการสื่อสารที่มีความหมาย ใช้ได้ในชีวิตจริง
2. เชื่อมโยงเรื่องวัฒนธรรมกับตัวอย่างให้เป็นรายบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สื่อที่เป็นโสตทัศนูปกรณ์ เช่น รูปถ่าย วีดิโอ รูปภาพในนิตยสาร เพื่อดึงดูดสายตาผู้เรียนให้สนใจ และเพื่อให้สังเกตเห็นเกี่ยวกับความหลากหลายในวัฒนธรรมที่มีอยู่ (ซึ่งจะเห็นว่าในชาติเดียวกัน ยังมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเลย)
3. ฝึกให้นักเรียนสังเกตด้วยตาตนเอง (เพราะต้องให้เจอด้วยตนเองจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น)
4. ให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยการเปรียบการกระทำของบุคคลอื่น(ที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง) กับการกระทำของตน
5. ถามเพื่อให้สังเกตเห็นสิ่งที่เหมือนกันและสิ่งเป็นจุดร่วมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ ครูควรเป็นคนถามนำเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิด (ให้สังเกตหาสิ่งที่เหมือนกันก่อนจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติม)
6. ให้นักเรียนตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ของตนต่อเรื่องราวของวัฒนธรรม (ถามความคิดเห็นว่าหลังจากที่เรียนรู้แล้ว จะทราบได้ว่าความคิดนั้นออกมาต่างกันอย่างไร)
7*.(สำคัญ)นำกิจกรรมทางด้านภาษาผสมผสานเข้าไปในการคิดวิเคราะห์เรื่องวัฒนธรรม จากการที่ใช้ภาษา ก็จะทำให้เข้าใจวัฒนธรรมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเพื่อที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม โดยผ่านกิจกรรมทางด้านภาษสก็จะทำให้ภาษาที่เรียนนั้นพัฒนายิ่งขึ้น (สอนภาษาและวัฒนธรรมร่วมกันไปด้วย เพื่อให้มีการพัฒนาร่วมกัน **ในการสอนต้องให้เห็นแนวโน้ม แต่ไม่ชี้ชัดลงไปว่าจะเป็นอย่างนั้น
8. สอดแทรกความคิดเห็นส่วนบุคคลในการสนทนา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรับมือและการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆ ได้
9.**(สำคัญมากๆ) สอกแทรกการเรียนรู้ร่วมกันและการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นควรจะให้นักเรียนเรียนรู้ที่จะยอมรับและเคารพในความแตกต่างของเพื่อน และคนรอบข้าง เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกัน* ซึ่งจะเป็นการสร้างนิสัยให้กล้ายอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

เอกสารและสื่อใช้หนังสือ "ภาษาญี่ปุ่นเรียนสบายสไตล์โคะฮะรุ" เล่ม1 และเล่ม2 หลังเรียนให้นักเรียนทำ portfolio เพื่อดูว่านักเรียนมีความเห็นอย่างไรเมื่อเรียนเรื่องวัฒนธรรม







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น